วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557

ไอศกรีมหรือเรียกกันติดปากว่า "ไอติม" ice cream

ไอศกรีม ice cream


ไอศกรีม (อังกฤษ: ice cream) หรือภาษาปากว่า ไอติม เป็นของหวานแช่แข็งชนิดหนึ่ง ได้จากการผสมส่วนผสม นำไปผ่านการฆ่าเชื้อ แล้วนั้นนำไปปั่นในที่เย็นจัด เพื่อเติมอากาศเข้าไปพร้อม ๆ กับการลดอุณหภูมิ โดยอาศัยเครื่องปั่นไอศกรีม ไอศกรีมตักโดยทั่วไปจะต้องผ่านขั้นตอนการแช่เยือกแข็งอีกครั้งก่อนนำมาขาย หรือรับประทาน

ประวัติ

ต้นกำเนิดของไอศกรีมนั้น ไม่เป็นที่แน่ชัดมาเริ่มจากไหน บางข้อมูลก็ว่าเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยจักรพรรดิเนโรแห่งจักรวรรดิโรมัน ที่ได้มีการพระราชทานเลี้ยงไอศกรีมทหาร โดยในสมัยนั้นทำจากเกล็ดน้ำแข็ง (หิมะ) ผสมน้ำผึ้งและผลไม้ ซึ่งคล้ายกับไอศกรีมเชอร์เบตในปัจจุบัน แต่บ้างก็ว่ามาจากประเทศจีน เกิดจากเมื่อสมัยโบราณที่นมถือเป็นของหายาก จึงได้มีการคิดวิธีเก็บรักษาโดยการเอาไปฝังในหิมะ จึงเกิดเป็นไอศกรีมขึ้น แม้จะไม่ได้มีลักษณะเหมือนกับไอศกรีมอย่างทุกวันนี้

แต่บ้างก็ว่ามาจากอิตาลีโดยมาร์โค โปโล กลับจากจีนแล้วเอาสูตรไอศกรีมมาเผยแพร่ ซึ่งในตอนนั้นไอศกรีมของจีนยังไม่มีนม เป็นคล้ายน้ำแข็งไสมากกว่า ยังมีจุดเริ่มต้นจากอังกฤษเมื่อสมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 พ่อครัวคนหนึ่งมีสูตรเด็ดเป็นครีมแช่แข็งปรุงรส ซึ่งเป็นสูตรลับสุดยอดที่ส่งเป็นของหวานถวายพระองค์ ทว่าเมื่อพระองค์ถูกปลงพระชนม์โดยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1642-ค.ศ. 1651 พ่อครัวต้องลี้ภัยไปยุโรปจึงได้นำสูตรไอศกรีมนี้เผยแพร่ออกไป

ในประเทศไทยนั้น ไอศกรีมเริ่มเข้ามาในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นหนึ่งในวัฒนธรรมตะวันตกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำมาเผยแพร่ในสยาม หลังเสร็จประพาสอินเดีย, ชวาและสิงคโปร์ น้ำแข็งในตอนแรก ๆ ก็ยังไม่สามารถผลิตในประเทศได้ จึงต้องนำเข้าจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อไทยสั่งเครื่องทำน้ำแข็งเข้ามาก็เริ่มมีการทำไอศกรีมกินกันมากขึ้น ถือว่าไอศกรีมเป็นของเสวยเฉพาะสำหรับเจ้าขุนมูลนายเท่านั้น ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพบันทึกไว้ว่า
   

    ไอศกรีมเป็นของที่วิเศษในเวลานั้น เพราะเพิ่งได้เครื่องทำน้ำแข็งอย่างเล็กที่เขาทำกันตามบ้านเข้ามา ทำบางวันน้ำก็แข็งบางวันก็ไม่แข็ง มีไอศกรีมบ้างบางวันก็ไม่มี จึงเห็นเป็นของวิเศษ

   

ไอศกรีมในประเทศไทย


โดยไอศกรีมในพระราชวังนั้นจะทำจากน้ำมะพร้าวอ่อน ใส่เม็ดมะขามคั่ว จนต่อมาเมื่อมีโรงงานทำน้ำแข็ง แต่ก็ยังถือเป็นของชั้นดี โดยมีไอศกรีมระดับชาวบ้านทำเองด้วย ในช่วงแรก ๆ นั้นไอศกรีมกะทิมีลักษณะเป็นน้ำแข็งละเอียดใส ๆ รสหวานไม่มาก และมีกลิ่นหอมของดอกนมแมว ในสมัยนั้นวิถีการกินของผู้คนจะนิยมกินอาหารกันในเรือนแพ เหมือนที่สมัยนั้นจะขายก๋วยเตี๋ยว หรือกาแฟกันบนเรือ

ลักษณะของไอศกรีมกะทิใส่ถ้วยพร้อมโรยด้วยถั่วลิสงคั่วก็มีมาตั้งแต่สมัยนั้น ซึ่งต่อมาไอศกรีมกะทิก็มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาขึ้น จากกะทิใส ๆ ก็มีความเข้มข้น มีการใส่ลอดช่อง, เม็ดแมงลัก และขนุนฉีกเข้าไป โดยคนไทยได้ดัดแปลงไอศกรีมของต่างชาติมาเป็นไอติมกะทิ โดยใช้กะทิสดผสมกับน้ำตาลนำไปปั่นให้แข็ง เนื้อไอติมค่อนข้างใสเป็นเกล็ดน้ำแข็งละเอียด เวลารับประทานต้องขูดไอติมออกจากขอบหม้อโลหะเมื่อไอติมเริ่มแข็งตัว ตอนขายตักใส่ถ้วยเป็นลูก ๆ เรียกไอติมตัก กินกับถั่ว ข้าวเหนียว หรือลูกชิด บางคนกินกับขนมปังที่หั่นเป็นท่อน และมีรอยแยกเป็นร่องอยู่ตรงกลาง

ส่วน ไอศกรีมหลอด หรือไอศกรีมแท่งก็เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7 โดยใช้น้ำหวานใส่หลอดสังกะสีและเขย่าให้แข็ง และมีก้านไม้เสียบ โดยจะใส่ถังขับไปขายตามถนน สั่นกระดิ่งเป็นสัญญาณเพื่อเรียกลูกค้า นอกจากนี้ยังมีจุดขายที่การลุ้นไอศกรีมฟรีจากไม้เสียบที่หากมีสีแดงป้ายอยู่ก็จะได้กินฟรีอีกหนึ่งแท่งด้วย ซึ่งไอศกรีมแบบหลอดก็มีการพัฒนาจนมาเป็นไอศกรีมโบราณที่มีส่วนผสมของนมโดยมีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยม อาจทานเป็นแท่ง หรือตัดใส่ถ้วยรับประทานก็ได้

จากนั้นมาก็เป็นยุคของไอศกรีมแบบวัฒนธรรมตะวันตกแท้ ๆ จนถึงปัจจุบัน



ขอบคุณที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A1

วันอังคารที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2557

หัวใจสำคัญของการทำไอศกรีม

หัวใจสำคัญของการทำไอศกรีม
อยู่ที่นมสด รสชาติไอศกรีมที่อร่อยอยู่ที่นมสด
นมสดที่ขายอยู่ตามห้างส่วนใหญ่จะเป็นนมสดสเตอริไลซ์ซึ่งเก็บไว้ได้นาน ความอรร่อยก็ลดลงตามไปด้วย

"แนะนำเป็นนมสดพาสเจอไรซ์ซึ่งเป็นนมสดที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วความร้อนต่ำเป็นเวลานาน ทำให้รส กลิ่น สี หรือคุณค่าทางอาหารเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยคงความอร่อยแบบนมสด"


1 ควอทสเวนเซ่น เท่ากับกี่ลูก

ไอศกรีมควอท 1 ควอทหนัก 450 กรัมถ้าคิดเป็น สคู๊ปใหญ่ก็ประมาณ5-6ลูก

ขนาดที่ตักไอครีมที่นิยม

- เบอร์ 50 : เส้นผ่าศูนย์กลางสคูป 39 mm. ได้ไอศกรีมลูกเล็ก ตักไอศกรีมธรรมดา (overrun 100%) ได้ลูกละ 20 g.+ เหมาะสำหรับตักเป็นไอศกรีมลูกล่างสุดสำหรับลงถ้วยก้นแคบปากกว้าง หรือตักลูกเล็กลงถ้วย 4 oz. แบบครึ่งวงกลม 3 ลูก

- เบอร์ 24 : เส้นผ่าศูนย์กลางสคูป 51 mm. ขนาดเท่ากับลูกไอศกรีมมาตรฐาน ตักไอศกรีมธรรมดา (overrun 100%) ได้ลูกละ 42 g.+ เหมาะสำหรับตักไอศกรีมลูกครึ่งวงกลม หรือกลมวางบน Sugar Cone หรือตักแบบครึ่งวงกลม 2 ลูก หรือ วงกลม 1 ลูกใส่ในถ้วย 4 oz.

 - เบอร์ 20 : เส้นผ่าศูนย์กลางสคูป 56 mm. ขนาดใหญ่ ตักไอศกรีมธรรมดา (overrun 100%) ได้ลูกละ 56 g.+ เหมาะสำหรับตักไอศกรีมลูกใหญ่ลงวาฟเฟิ้ลโคนปากกว้าง หรือตักแบบวงกลม 1 ลูกใส่ลงในถ้วย 4 oz. ให้นูน ๆ

ไอศครีม 1 สคูป กี่กรัม

ไอศครีมจะมี 4 ขนาด ที่ตัก 3 ไซส์ ได้แก่ 35g 45g 70g และ 88g ที่ตักอันเล้กจะใช้ตัก 35 และ 45 กรัม ที่เหลือก็ตามขนาด สำหรับไอศครีม scoop ลูกละ 39 บาท วาฟเฟิ้ลซันเดย์ เซเลเบรตี้บราวนี่นั้น จะเป็นไอศครีมขาดใหญ่สุดครับ ส่วน earthquake และ hurricane จะใช้ 70g พวกโปรโมชั่นช่วงนี้ที่ราคา 55 บาทจะขนาด 35g ส่วนถ้วยใหญ่ใช้ 70g สองลูก ส่วนหมวด beautiful นั้นจะขนาด35g หมดครับ ไอศครีมปั่นนั้นจะใส่นม 4 ออนซ์ตามด้วยไอศครีม 70 และ 88 อย่างละลูก hot fudge กะ strawberry super sundae นั้นจะเป็น 35g ลูกล่างและ 88g ลูกบน
ขุมทรัพย์โบนันซ่ากับสตรอเบอร์รั้สามทหารเสือจะเหมือน super sundae ครับ ฟองดูจะเป็นขนาด 45g ใหญ่กว่า 35g นิดนึง ในถ้วยอื่นถ้าจะให้บอกคงยาว แต่อยากบอกว่า 88g ส่วนมากจะใช้กับพวก scoop กับบราวนี่หรือวาฟเฟิ้ลครับ